ผลคะแนน #ONET66 สะท้อนคุณภาพการให้ความรู้

การสอบ-ONET-66

ตามที่ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ดำเนินการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ปีการศึกษา 2566 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอบวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ประกาศผลวันที่ 27 มีนาคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ประกาศผลสอบ 28 มีนาคม 2567 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบชั้น ม.6 สอบ 4 รอบ สอบโดยรูปแบบคอมพิวเตอร์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567, วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567, วันที่ 2 มีนาคม 2567, วันที่ 3 มีนาคม 2567 ประกาศผลวันที่ 29 มีนาคม ณ สนามสอบทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ สทศ.ประกาศคะแนนแล้ว และได้เปิดเผยภาพรวมค่าสถิติพื้นฐาน โอเน็ต จำแนกตามวิชาคะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ผลสอบ-ONET66-ประถม6
ผลสอบ ป.6 สอบ 4 วิชา ได้แก่
  • ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 600,358 คน มีคะแนนเฉลี่ย 57.30 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
  • ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 600,277 คน มีคะแนนเฉลี่ย 37.32 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
  • คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 600,198 คน มีคะแนนเฉลี่ย 29.96 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
  • วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 600,256 คน มีคะแนนเฉลี่ย 40.75 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
ผลสอบ-ONET66-มัธยม3
ผลสอบ ม.3 สอบ 4 วิชา ได้แก่
  • ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 398,468 คน มีคะแนนเฉลี่ย 50.73  สูงสุด 96.39 ต่ำสุด 0
  • ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 395,338 คน มีคะแนนเฉลี่ย 31.76 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
  • คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 398,023 คน มีคะแนนเฉลี่ย 25.38 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
  • วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 396,192 คน มีคะแนนเฉลี่ย 30 สูงสุด 98 ต่ำสุด 0
ผลสอบ-ONET66-มัธยม6
ผลสอบ ม.6 สอบ 5 วิชา ได้แก่
  • ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 125,374 คน มีคะแนนเฉลี่ย 40.78  สูงสุด 88.80 ต่ำสุด 0
  • สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ผู้เข้าสอบ 121,429 คน มีคะแนนเฉลี่ย 33.09 สูงสุด 82.75 ต่ำสุด 0
  • ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 122,357 คน มีคะแนนเฉลี่ย 26.19 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
  • คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 123,792 คน มีคะแนนเฉลี่ย 19.96 สูงสุด 100 ต่ำสุด 0
  • วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 122,645 คน มีคะแนนเฉลี่ย 29.09 สูงสุด 95.20 ต่ำสุด 0
การสอบ-ONET

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผยว่า แม้ค่าเฉลี่ยผลสอบโอเน็ตของเด็กไทยจะออกมาต่ำ สะท้อนผลสัมฤทธิ์การเรียนได้ระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ใช่ตัววัดที่ดี เนื่องจากข้อสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ออกตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่เน้นให้เด็กไทยคิดวิเคราะห์ ไปจนถึงวิเคราะห์ขั้นสูงซับซ้อนอย่างมีเหตุผลและนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ แต่ปัจจัยหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้คือ การเตรียมครูผู้สอนของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องสอนให้นักเรียนมีความพร้อมด้านการคิดวิเคราะห์ ส่วนการเรียนแบบเน้นท่องจำนั้นจำเป็นแค่บางวิชาเท่านั้นเมื่อข้อสอบ o-net เน้นการคิดวิเคราะห์ ความรู้ของนักเรียนที่จะนำเข้าไปใช้ในการทดสอบ จึงมีผลที่ไม่น่าพอใจ ซึ่งปัญหานี้คนแรกที่ต้องคิดหนักในการหาวิธีการจะทำให้นักเรียนมีผลการทดสอบที่ดีขึ้น คือผู้ปกครองซึ่งไม่พ้นที่จะต้องหาที่เรียนนอกห้องเรียน ตามสถานที่สอนพิเศษหรือหาติวเตอร์มาสอนแบบตัวต่อตัว

แม้ว่าผลการสอบ #o-net66 นี้จะสะท้อนออกมาได้หลายอย่างที่อาจหมายถึงการเรียนการสอนแย่ลงหรือการที่นักเรียนได้ครูที่ไม่สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือข้อสอบที่มันยากขึ้นกว่าความสามารถของนักเรียน ทั้งหมดนี้จะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติซึ่งการแก้ปัญหาอาจจะไม่ทันการ เพราะนักเรียนมีการเลื่อนชั้นขึ้นไปปีต่อปี การแก้ปัญหาโดยตัวนักเรียนและผู้ปกครองเองอาจเป็นส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาได้เร็วมากยิ่งขึ้น เพราะการเรียนเสริมนอกห้องเรียนจะช่วยให้นักเรียนมีเทคนิคการคิดวิเคราะห์ได้มากกว่าในห้องเรียน โดยเน้นการเรียนแบบตัวต่อตัวนี้อาจจะทางเลือกแรกในการแก้ปัญหาก็เป็นได้

Scroll to Top